ทุกครั้งที่เราดูภาพยนตร์จนจบหนึ่งเรื่อง เรามักจะได้รับความรู้สึกบางอย่างติดตัวเรากลับไปด้วยเสมอ ทั้งความสนุก ความตื่นเต้น ความเศร้า ความเสียใจ ความคิดถึง หรือความโหยหา เเต่ ในบางครั้งภาพยนตร์ก็ชวนให้เราคิดถึงสิ่งที่อยู่รอบข้าง รวมถึงตั้งคำถามกับโลกใบนี้
“ เข้าใจชีวิตด้วยปรัชญา ศึกษาผ่านมุมมองของภาพยนตร์ ”
ภาพยนตร์ที่เราดูนั้นล้วนมีองค์ประกอบของปรัชญาประกอบอยู่ในส่วนต่างๆ ซึ่งส่วนมากนั้นเป็นองค์ประกอบของ ปรัชญาที่เราพบได้ทั่วไปรอบตัว ความสุข ความเศร้า ความรัก หรือ ความฝัน เเละชีวิต ฯลฯ จนไปถึง ปรัชญาเชิงลึก ที่ตั้งคำถามกับ ความเป็นจริงของโลก ธรรมชาติ ตัวตน อนาคต เเต่อย่างไรก็เเล้วเเต่ สิ่งเหล่านี้คอยช่วยให้เราตระหนัก เเละตั้งคำถามที่เกิดขึ้น
ในบางครั้งภาพยนตร์ ก็เสนอปรัชญาในลักษณะของเรื่องราว บทสนทนา หรือนำเสนอโดยผ่านภาษาภาพของภาพยนตร์ เเต่ไม่ว่าจะเป็นในรูปเเบบไหน สิ่งเหล่านี้ก็ช่วยเติมเต็มให้ภาพยนตร์นั้นลึกซึ้ง มีเรื่องราว เเละมีมิติมากขึ้น เพื่อทำให้ผู้ชม หรือเเม้กระทั่งผู้สร้างรู้สึกถึงเรื่องราวบางอย่างที่ภาพยนตร์ทั้งการบอกเล่าได้มาเปรียบเทียบตัวเอง เเละสังคม โดยบางครั้งผู้ชมอาจะต้องวิเคราะห์ตกผลึกความคิด ถึงจะเห็นปรัชญาหรือสิ่งที่เรื่องต้องการนำเสนอออกมาหรืออาจะไม่ต้องเลยก็ได้ เราจึงอยากจะขอยกตัวอย่างถึงภาพยนตร์ ที่มีองค์ประกอบของปรัชญาทั้งทางตรงที่เห็นได้ชัด เเละทางอ้อมที่ถูกซ่อนไว้ เพื่อทำให้เห็นภาพมากขึ้นว่าภาพยนตร์นั้นเป็นศาสตร์ที่สวยงาม เเละน่าค้นหาเเค่ไหน
ภาพยนตร์ที่นำเสนอปรัชญาทางตรงอย่าง The Secret Life of Walter Mitty (2013)
ภาพยนตร์ที่เล่าถึงชีวิตของหนุ่มออฟฟิศนามว่า Walter Mitty ที่ทำงานอยู่ในออฟฟิศเสมอ จนกระทั่งด้วยเหตุผลบางอย่างต้องทำให้เขาต้องออกเดินทางไปสู่โลกกว้าง เพื่อตามหาภาพฟิล์มหมายเลข 25 ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการผจญภัยที่เปลี่ยนชีวิตของเขาให้ไม่ธรรมดาอีกเลย ซึ่งปรัชญาของเรื่องนี้จะสอดเเทรกอยู่ตลอดเวลาในตัวเรื่อง ทั้งบทสนทนาที่ตั้งคำถามกับงานที่เรารักกับความเป็นจริง การอยู่กับที่กับการออกเดินทาง หรือแม้การเปรียบเทียบความฝัน และความจริงของสิ่งที่ตัวละครคิด และที่ตัวละครเจอ ผ่านการใช้ภาษาของภาพ เทคนิคทางภาพยนตร์ รวมถึงเมื่อภาพยนตร์เดินทางมาจุดจบ เนื้อเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้อาจะสะท้อนให้เราเห็นถึงปรัชญาบางอย่างที่สำคัญถึงเป้าหมายของชีวิต
“ เพราะบางครั้งการที่เราฝันก็เพื่อทำให้เราหยุดฝัน เเละลงมือทำฝันให้กลายเป็นจริง สิ่งนี้แหละคือ เป้าหมายของชีวิต ”
The Secret Life of Walter Mitty (2013)
ภาพยนตร์ที่นำเสนอปรัชญาทางอ้อมอย่าง Batman The Dark Knight (2008)
ภาพยนตร์ที่เล่าถึงการต่อสู้กับของ Batman ตัวละครซุปเปอร์ฮีโร่สุดโด่งดัง ที่ต้องมาสู้กับตัวร้ายสุดไอคอนนิคอย่าง Joker ที่ทั้งคู่ต้องใช้ทั้งสติปัญญา ไหวพริบ เเละกลยุทธ์ต่างๆ ที่ดูภายนอกอาจจะสนุกตื่นเต้น เเละดูเหมือนเป็นหนังแอคชั่นที่ดีเรื่องหนึ่ง เเต่สิ่งที่ซ้อนอยู่ในภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นไปด้วย ปรัชญาที่ตั้งคำถามกับความดี เเละความชั่วที่เกิดขึ้นในสังคม การเเสดงออกถึงตัวตนกับสิ่งที่เป็น ตั้งคำถามถึงระบบการปกครอง การเมือง ที่อยู่ในตัวเรื่อง บทสนทนา ภาษาภาพ และการออกเเบบศิลป์ที่เเอบซ่อนปรัญชาเหล่านี้ไว้อย่างแยบยล จนพูดได้ว่าภาพยนตร์เรื่องน้ีสามารถเป็นเเบบจำลองของปรัชญา สังคมการเมืองเพื่อให้เราเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น
“ คุณจะยอมตายในฐานะฮีโร่ หรือจะยอมอยู่จนตัวเองกลายเป็นผู้ร้าย ”
Batman The Dark Knight (2008)
จากที่ได้ยกตัวอย่างมาในข้างต้น ในบางครั้งเมื่อเราดูภาพยนตร์จนจบ เราอาจะจับประเด็นบางอย่างได้ หรือเราอาจจะไม่เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นเลย เเต่เมื่อเราเข้าใจในภาพยนตร์ เราจะค้นพบว่าปรัชญาเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไปไม่ได้ของภาพยนตร์ ที่สอดเเทรกอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอเนื้อเรื่องเเบบไหน หรือเเนวไหนก็ตาม นั่นทำให้การเรียนรู้ภาพยนตร์ หรือสื่อต่างๆ ในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงเเค่การเรียนรู้ เเละให้ทำเป็นเท่านั้น เเต่เป็นการเรียนรู้เพื่อให้เราขบคิด วิเคราะห์ เเละ ตั้งคำถาม ซึ่งบางครั้งก็ทำให้มองสิ่งรอบข้างเปลี่ยนไป เกิดความคิดใหม่ๆ ที่กระตุ้นให้เราได้เรียนรู้ เเละเข้าใจสิ่งต่างๆ ในโลกที่ยิ่งใหญ่ได้มากขึ้นจากภาพยนตร์เล็กๆ เรื่องหนึ่ง
“ ภาพยนตร์คือเรื่องราวของสิ่งที่สร้างจากความฝัน เเต่สะท้อนให้เห็นภาพของความจริง ”
Written by Pipe Supervisor Creative Media, OpenSchool
Edited by Lookpalm Integrated Marketing Communication